Home » ไม่มีหมวดหมู่ » ความเท่าเทียมกับความยุติธรรม

ความเท่าเทียมกับความยุติธรรม

– บทที่ ๑ เหตุของเรื่อง –
มีเศรษฐีเจ้าของที่ดินคนหนึ่ง ในฤดูเพาะปลูกได้ทำการเพาะปลูกข้าวไว้จำนวนมาก
เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว ได้เกิดสภาพอากาศไม่ดี คาดว่าในอีกไม่นานวันจะมีพายุฝนตกหนัก
ดังนั้นเศรษฐีจึงตัดสินใจว่าจะต้องเก็บเกี่ยวพืชผลให้แล้วเสร็จในวันรุ่งพรุ่งนี้
หรืออย่างน้อยก็เก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

– บทที่ ๒ เริ่มต้นด้วย ๕ ตำลึง –
รุ่งเช้าเศรษฐีจึงได้ว่าจ้างชาวบ้านคนหนึ่งให้เก็บเกี่ยวข้าวในทุ่งนา
ให้ได้มากที่สุดจนถึงอาทิตย์ตกดินด้วยค่าจ้าง ๕ ตำลึง และข้าวส่วนหนึ่ง
ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวไว้สำหรับกินในหนึ่งปี
ชายคนนี้ตกลงและเริ่มทำงานแต่เช้า

– บทที่ ๓ หาคนเพิ่ม –
เศรษฐีเข้าใจดีว่าด้วยกำลังชายเพียงคนเดียวมิอาจทำงานได้สำเร็จแน่
เศรษฐีจึงตระเวนหาชาวบ้านที่สนใจทำงานนี้ทั้งวัน ด้วยข้อเสนอค่าจ้างเดียวกัน
คือ “เก็บเกี่ยวข้าวในทุ่งนาจนถึงอาทิตย์ตกดินด้วยค่าจ้าง ๕ ตำลึงและข้าวส่วนหนึ่ง
ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวไว้สำหรับกินในหนึ่งปี”

– บทที่ ๔ คนยังไม่พอ –
จนคล้อยบ่ายเศรษฐีก็ยังคงเสาะหาชาวบ้านมารับงาน เพราะถึงจะมีคนมาเก็บเกี่ยวข้าว
ในท้องทุ้งหลายคนแล้วแต่ด้วยพื้นที่ท้องนาที่กว้างใหญ่ ท่านเศรษฐียังต้องการคนอีกมาก
เพื่อมาเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อให้ทันอาทิตย์ตกดิน

– บทที่ ๕ ผลตอบแทนเท่ากันแต่ไม่ยุติธรรม –
ชาวบ้านคนแรกที่รับงานเห็นว่าคนที่ท่านเศรษฐีรับมาทำงานหลังตนนั้นได้ผลประโยชน์เท่ากับตน
แต่ทำงานน้อยกว่านั้นได้เปรี่ยบ ส่วนตัวเองที่ทำงานก่อนแต่กลับได้ผลตอบแทนเท่ากันนั้นเป็นฝ่าย
เสียเปรียบ จึงเข้าไปต่อว่าท่านเศรษฐี

– บทที่ ๖ ยุติธรรมแล้วหรือ? –
ท่านเศรษฐีได้ฟังความเห็นของชายคนแรกที่รับงาน แล้วตอบชายผู้นั้นว่า
“เราว่าจ้างท่านด้วยเงิน ๕ ตำลึงและข้าวสำหรับกินหนึ่งปี เมื่อท่านทำงานเสร็จ
และได้ค่าจ้างแล้วท่านจะหาว่าเราไม่ยุติธรรมได้อย่างไร?”

– นิทานจบแล้ว –
๑ ท่านเศรษฐีเป็นเจ้าของที่นาและเงิน ย่อมมีสิทธิ์ที่จะยกสิ่งเหล่านั้นให้ใครเท่าไรก็ได้ จริงไหม?
๒ ข้อตกลงคือเงิน ๕ ตำลึง ข้าวสำหรับกินหนึ่งปี แลกกับเก็บเกี่ยวจนอาทิตย์ตกดิน จริงใหม?

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ความยุติธรรมของการได้รับไม่ได้อยู่ที่ความเท่าเทียม แต่อยู่ที่ความพอใจของผู้ให้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*
*